แก้ไขหน้าอก

แก้หน้าอก

แก้ไขหน้าอก

เสริมหน้าอกครั้งแรกไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่คาดหวัง การผ่าตัดเพื่อแก้ไขหน้าอกที่เสริมมาแล้วจึงเป็นสิ่งจำเป็น การเสริมหน้าอกแต่ละครั้ง ก็ไม่อยากจะแก้ไข หรือไม่เคยเสริมหน้าอกแต่อยากมีหน้าอกที่สวยงาม การผ่าตัดแก้ไขหน้าอก เป็นการแก้ไขเพื่อปรับรูปทรง ที่เป็นผลจากการผ่าตัดเสริมหน้าอกครั้งก่อน ปัญหาที่ต้องแก้ไขมีหลายสาเหตุ เช่น การมีขนาด และรูปทรงที่ผิดปกติ เพื่อให้ได้รูปทรงใหม่ที่สวยงามดูดีขึ้น การแก้หน้าอกนั้นเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ หลายคนแก้ไขปัญหาหน้าอก ด้วยการใส่ชุดชั้นในดันทรง หรือเลือกเสื้อผ้าปกปิดปมด้อย สาวแท้ และสาวเทียมที่มีปัญหาไม่พอใจกับหน้าอกตัวเองไม่ว่าจะมีปัญหา หรือหน้าอกมีปัญหาหลังจากการเสริมมาแล้ว เดอะซิบส์ คลินิกเรา ก็แก้ไขปัญหาหน้าอกให้ได้

เคสแก้ เสริมหน้าอก

ซิลิโคนแตก

ผนังซิลิโคนเสื่อมสภาพ

พังผืดดึงรั้งหน้าอก

หัวนมไม่เท่ากัน

หน้าอกแข็ง

ซิลิโคนไม่ได้มาตรฐาน

แก้ไขซิลิโคนผิดตำแหน่ง

เปลี่ยนซิลิโคน

แก้ไขหน้าอกหย่อนคล้อย

เพิ่มขนาดซิลิโคน

แก้ไขขนาด ปานนม

แก้ปัญหาหน้าอก หลังการมีบุตร

หน้าอกห่างออกจากกัน หัวนมผิดตำแหน่ง

แก้หน้าอก ศัลยกรรมหน้าอก ที่เดอะซิบส์ คุณหมอดารินทร์ แก้หน้าอก ทุกปัญหาอย่างจริงจัง ประเมิณทุกเคสด้วยความพิถีพิถัน เมื่อตัดสินใจเข้ารับการผ่าตัดกับคุณหมอ แก้หน้าอกกด้วยการศัลยกรรมเสริมหน้าอก แพทย์จะให้คำปรึกษา และอธิบายปัญหาและความคาดหวังให้ทราบก่อน ซึ่งจะต้องได้รับการดูแลจากแพทย์ที่มีความชำนาญด้านศัลยกรรมเสริมหน้าอก และรักษาในสถานที่ที่มีความพร้อมและปลอดภัยสูง เมื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ได้แล้ว ก็ไม่ต้องรู้สึกกังวลหรือรู้สึกมีปมด้อยอีกต่อไป เพิ่มความมั่นใจให้สาวๆ

ปัญหาที่พบได้บ่อบ หลังการเสริมหน้าอก

ปัญหาที่เกิดขึ้นหลังการผ่าตัเ้สริมหน้าอก แบ่งเป็น2 กลุ่ม

1 immediate complication หมายถึงปัญหาที่เกิดจากการผ่าตัดโดยตรง เช่น

เลือดออก เลือดคั่ง  เกิดจากการหยุดเลือดได้ไม่ดี อาจเกี่ยวข้องกับการเตรียมตัวผู้ป่วยได้ไม่ดี อาธิ  ทานวิตตามินบางตัว  ยาละลายลิ่มเลือด หรือยาบางตัวฮอร์โมน ทำให้มีโอกาส ทีเลือด จะออกว่าย หรือบางครั้ง มีโรคที่เลือดหยุดยาก โดยที่ผู้ป่วยไม่ทราบ หรือบางครั้งทราบ แต่ไม่แจ้ง

การอักเสบติดเชื้อ  ทำในสถานที่ที ไม่ sterile การขาด sterile technique การขาด การดูแลแผลที่ดี

การมีเลือดคั่ง

แผลแยก แผลปริ ส่วนนึงเป็นจากการดูแลจัวเอง

2  late complication ปัญหาที่เกิดขึ้นหลังจากที่แผลหน้าอกหายดีแล้ว

2.1 การเกิดพังพืดหดรัด capsular contracture เป็นผลข้างเคียงที่ได้บ่อยสุด หลังการผ่าตัดเสริมหน้าอกซิลิโคน ถึงฃแม้เป็น medical grade คือ เกรดที่ใช้ในทางการแพทย์ คือมีความ innert ต่อเนื้อเยื่อ คือมีปฏิกิริยา ต่อเนื้อเยื่อ น้อยที่สุด แต่อย่างไรก็ตาม การใส่ซิลิดคนไม่ว่าตำแหน่งไหนก็ตาม ร่างกายจะวิเคราะห์ว่าเป็นสิงแปลกปลอม มีการสร้างเนื้อเยื่อมาห่อหุ้ม ไม่ให้สิ่งแปลกปลอมเหล่านี้ กระจายไปที่อื่น เนื้อเยื่อนี้ คือ collagen type III หรือที่เราเรียกกันว่าพังพืด ดังนั้น การเสริมซิลิโคน พบ พังพืดทุกเคส แต่มิได้หมายความว่า การมีพพังพืดจะเป็นปัญหา การที่พังพืดจะเป็นปัญหา คือ พังพืด มีการหนาตัวกว่าปกติ บีบรัดโพรง ซิลิดโคน จนผิดรูป การเกิดพังพืดหดรัด แบ่งอาการตาม baker classificationดังต่อไปนี้

 

grade 1 :breast is soft , implant is mot palpable

หน้าอก ปกติ นิ่ม คลำเป็นก้อนซิลิโคนไม่ได้

grade 2: Breast is solid, implant is palpable but not visible

หน้าอแข็ง คลำได้ว่าแข็ง แต่ยังมองไม่เห็นความผิดปกติ

grade 3 :breast is harden, implant is palpable and visible

หน้าอกแข็ง คลำได้ว่าแข็ง และมองด้วยตาเห็นความผิดปกติ

grade4: breast is hard, deformed and painful, implant is palpable and clearly visible

หน้าอกแข็ง ผิดรูป  เจ็บ  ซิลิโคนคลำได้เป็นก้อนและเห็นชัดเจนว่าดูผิดปกติ

ARTเคสแก้7 01 แก้ไขหน้าอก

 

หน้าอก ที่เริ่มมีพังพืด เริ่มมีอาการผิดปกติสามารถเริ่มแก้ไขได้ด้วยการนวดมือ นวด คลื่นอัลตราซาวด์ จะทำให้พังพืด ยืดขึ้น ดังนั้น หากหน้าอก มีอาการผิดปกติ แนะนำให้เข้ามาพบแพทย์ อาการแรกที่รู้สึกผิดปกติ คือ หน้าอกตึง ไม่นิ่มเหมือนปกติ

ปัญหาในระยะ2ให้เริ่มนวดก่อน  นวดแล้วไม่ดีขึ้น ก็จำเป็นต้องทำการผ่าตัด

ปัญหา ในระยะ3-4 มักต้องมีการผ่าตัดแก้ไข เพราะหน้าอกถูกรัด จนผิดรูป  จนมีอากรปวด หน้าอกผิดรูปมาก จนขาดความสวยงาม

การผ่าตัดแก้ไข จำเป็นต้องขยายโพรงที่หดรัดออก มี2วิธี

capsulotomy คือการกรีดขยายพังพืด  เพื่อให้โพรงของซิลิโคนกว้างขึ้น ซิลิโคนขยายออกได้ ไม่ถูกหดรัดแบบเดิม

capsulectomy คือการเลาะเอาพังพืด ออกทั้งก้อน เอาพังพืดหนาที่หดรัดซิลิดคนจนเป็นก้อนออก จะทำให้โพรงขยายตัวออกจน free  แทบไม่เหลือการหดรัดอยู่เลย ซึ่งในความเป็นจริงทำค่อนข้างยาก ในเคสที่เคยแก้มาหลายครั้ง พังพืด จะหกนาตัวมาก เลาะมาก ก็จะเหลือเนื้อบางๆมีปัญหาอื่นตามมา ในบางครั้ง ศัลยแพทย์ เลือกเป็น partial capsulectomy คือ เอาพังพืด บางส่วนออกเท่านั้นไม่ได้เอาออกทั้งหมด โดยส่วนใหญ่จะเอาพังพืดด้านบนออก โดยเหลือส่วนข้างล่าง ไว้ ในความเป็นจริงหากพังพืด หนา หรือแก้หลายครั้ง การเลาะพังพืดด้านล่างมีโอกาสเกิดเยื่อหุ้มปอดทะลุได้ง่ายด้วย  partial capsulectomy จึงเป็นที่นิยม หรือบางครั้งก็ทำผสมกัน โดยมีจุดมุ่งหมาย คือโพรงซิลิโคน สามารถขยายตัวได้

ARTเคสแก้8 01 แก้ไขหน้าอก

 

Rippling คือภาวะ ที่เห็นหน้าอก เป็นริ้ว ไม่อิ่มเต็ม สาเหตุ เกิดได้หลายอย่าง ส่วนใหญ่เกิดจากการใส่ซิลิโคนขนาดใหญ่ ทำให้เกิดปัญหา เนื้อบางลง พอเนื้อบาง จะเห็นลักษณะ ผิดปกติที่อยู่ภายในได้ง่ายขึ้น  การที่หน้าอกมีลักษณะเป็นริ้ว คือการที่ซิลิโคนถูกบีบให้ห่อตัวลง  ซิลิโคน ไม่สามารถขยายตัวได้ตามปกติ ซิลิโคนถูกบีบ จนพับพอเนื้อเราบางมากขึ้น จากขนาดหน้าอกที่ใหญ่ ก็จะเห็นลักษณะการพับของซิลิโคนชัดเจนขึ้นเห็นเป็นริ้ว หรือ การที่โพรงเริ่มมีพังพืด จึงบีบซิลิโคนให้ห่อลง เกิดการพับ ก็ทำให้เห็นเป็นริ้วเช่นกัน  การเกิดริ้ว ยังเกี่ยวข้องกับ ปริมาณซิลิโคนเจลที่เติมอยู่ในถุงซิลิโคน หากการบรรจุซิลิโคนไม่เต็มปริมาตร ก็จะเห็นรอยย่น รอยพับได้เช่นกัน ซิลิโคนรุ่นใหม่ จึงมีการ fill ซิลิโคนเจล มากขึ้น เพื่อให้ผิวซิลิโคนเต่งตึง

การผ่าตัดแก้ไข โดยส่วนใหญ่ประเมินเป็นเคสไป หากใส่เหนือกล้ามเนื้อมา แนะนำให้ใส่ใต้กล้ามเนื้อ และนำลดขนากซิลิโคน การเก็บหนังให้ตึงขึ้น ร่วมกับการฉีดเติมไขมันให้ชั้นผิวหนังหนาขึ้น ในบางครั้ง อาจใช้เนื้อเยื่อเทียมมาช่วย

 

2.3 หน้าอกแฝด ( symmastia)  หน้าอกแฝด  คือหน้าอกสองข้าง เข้ามาใกล้กันมาก จนจะเป็นเนื้อเดียวกัน ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของแต่ละเคส หน้าอกแฝด แบ่งเป็น2 กรณี

1 congenital symmastia

2 acquire symmastia

congenital symmastiaคือภาวะหน้าอก แฝด ที่เป็นแต่กำเนิด โดยส่วนใหญ่เป็นกรรมพันธุ์ คือ คนไข้จะมีเนื้อ ตรงกลาง ระหว่าง เต้านมทั่งสองข้างมากกว่าปกติ  หาก มีหน้าอกใหญ่ ก็จะเห็นหน้าอกทั้งสองข้างดูไม่แยกจากกัน  ในเคสกลุ่มนี้ หากเป็นปัญหามาก สามารถแก้ไขโดนการดูดไขมันส่วนกรงกลางที่หนาตัวออก ก็จะทำให้เห็นเต้านมซ้าย ขวา แยกจากกัน โดยส่วนใหญ่จะดุดไขมัน ร่วมกับการเย็บ cuiting ให้ขอบเขตหน้าอกแต่ละข้าง แยกจากกัน ร่วมกับ การ pressure ร่องตรงกลางก็จะทำให้ปัญหา นมแฝด ถูกแก้ไข หากเป็นไม่เยอะ และคนไข้มาปรึกษาเรื่องการเสริมหน้าอก  และนำการเลือกขนาดที่ไม่ใหญ่จนเกินไป หากใหญ่มากจะยิ่งไม่เห็นร่องตรงกลาง

ARTเคสแก้6 02 แก้ไขหน้าอก

Acquire symmastia คือภาวะนมแฝดที่เกิดขึ้นหลังการเสริมหน้าอก เกิดจากการเลาะโพรงหน้าอก เข้าด้านในมากเกินไป การใส่ซิลิโคนขนาดใหญ่มาก มักพบในเคสที่เสริม เหนือกล้ามเนื้อ มากกว่า ใต้กล้ามเนื้อ  ปกติ การเสริม ใต้กล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อที่ยึดกับกระดูก จะเป็นตัวที่กัน หรือแยกหน้าอกทั้งสองข้างออกจากกันคือ กล้ามเนื้อ pecteralis major ยึดติดกับกระดูกส่วนกลาง sternum จะเป้นตัวที่กั้นให้หน้าอกไม่เข้ามาชิดกันเป็นอย่างดี    ในเคสที่ศัลยกรรมเสริม

เหนือกล้ามเนื้อ เนื่องจากไม่มีกล้ามเนื้อเป็นตัวล็อคซิลิโคนไว้  โพรงจะมีโอกาสชิดกันง่ายมาก ในเคสที่ใส่ใต้กล้ามเนื้อเองก็สามารถเจอได้ โดยอาจมีส่าเหตุมาจากการผ่าตัด เช่น เลาะกล้ามเนื้อด้านในจนหลุดจากกระดูก จึงไม่มีกล้ามเนื้อมาขวาง นอกจากนี้ ยังพบว่า การพยายามดันหน้าอกให้เข้าหากันมากๆๆและนานๆๆ ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะนมแฝดได้ ในบางเคส ให้ประวัติว่า หลังทำใหม่ๆ ก็หน้าอกซ้ายขวาแยกกันอย่างที่ควรจะเป็น แต่ พอทิ้งไปเรื่อยๆๆ หน้าอกแต่ละข้าง ไหลเข้าด้านในมากขึ้น จนมาชนกัน บางเคสโพรงด้านซ้ายด้านขวา เชื่อมต่อกัน เป็นโพรงเดียวกันก็มี

แก้ไขหน้าอก

แก้ไขหน้าอก