ภาวะนมแฝด (Symmastia)

ภาวะนมแฝด (Symmastia)

ทำหน้าอก เดอะซิบส์ คลินิก นมแฝด 1 ภาวะนมแฝด (Symmastia)

นมแฝดคืออะไร?

ภาวะนมแฝด (Symmastia) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

  1. Congenital คือ ผู้ที่มีเนื้อบริเวณกลางหน้าอกชนกันเยอะมาตั้งแต่กำเนิด ไม่ว่าจะเสริมหน้าอกในรูปแบบใด หน้าอกก็จะออกมาค่อนข้างชิด จะไม่เห็นร่องตรงกลางอก ไม่ควรเสริมหน้าอกที่ขนาดใหญ่ เพราะจะยิ่งเห็นชัดกว่าเดิม
  2. Acquired คือ ภาวะนมแฝดที่เกิดขึ้นหลังผ่าตัดเสริมหน้าอก เกิดจากถุงเต้านมเทียมทั้งสองข้างมีลักษณะชิดกันมากเกินไป หน้าอกชิดติดกัน อันเนื่องจากทำการเลาะโพรงใส่ซิลิโคนด้านในชิดกันเกินไป ส่งผลให้หัวนมชี้ออกด้านข้าง หน้าอกไม่มีร่องตรงกลาง อกรวมเป็นหนึ่งอันเดียวกัน ถ้าไม่ทำการแก้ไข โพรงอาจจะทะลุถึงกันได้

ทำหน้าอก เดอะซิบส์ คลินิก นมแฝด 2 ภาวะนมแฝด (Symmastia)

ภาพจำลองภาวะนมแฝด

การเสริมหน้าอกใต้กล้ามเนื้อ เป็นวิธีป้องกันภาวะนมแฝดอีกทางหนึ่ง เนื่องจากเวลาแพทย์ใส่ซิลิโคนใต้กล้ามเนื้อ จะใส่ใต้กล้ามเนื้อที่ชื่อว่า “Pectoral Muscle” ซึ่งกล้ามเนื้อนี้จะเกาะที่ขอบนอกของกระดูดสันอก (Sternum) ซิลิโคนจะไม่ไหลเกินจุดเกาะ ดังนั้นเต้านมจะไม่ชิดกันแน่นอน เพราะมีกล้ามเนื้อล็อคไว้ไม่ให้ชิดกัน เว้นแต่ในกรณีที่ใส่ซิลิโคนเหนือกล้ามเนื้อ จะไม่มีกล้ามเนื้อกลั่นกลาง ไม่มีตัวล็อคซิลิโคน ส่งผลให้โพรงกว้างขึ้นเรื่อย ๆ ซิลิโคนดันเข้าหากันจนกล้ายเป็นภาวะนมแฝดได้

ทำหน้าอก เดอะซิบส์ คลินิก นมแฝด 3 ภาวะนมแฝด (Symmastia)

ภาพจำลองกระดูดสันอก (Sternum)

ภาพตัวอย่างภาวะนมแฝด

ทำหน้าอก เดอะซิบส์ คลินิก นมแฝด 4 ภาวะนมแฝด (Symmastia)

ภาพตัวอย่างภาวะนมแฝดประเภท Congenital

ทำหน้าอก เดอะซิบส์ คลินิก นมแฝด 5 ภาวะนมแฝด (Symmastia)

ทำหน้าอก เดอะซิบส์ คลินิก นมแฝด 6 ภาวะนมแฝด (Symmastia)

ทำหน้าอก เดอะซิบส์ คลินิก นมแฝด 7 ภาวะนมแฝด (Symmastia)

ภาพตัวอย่างภาวะนมแฝดประเภท Acquired

สาเหตุการเกิดนมแฝด

สาเหตุการเกิดนมแฝด โดยหลัก ๆ แล้วมี 3 ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง คือ

  1. การผ่าตัดของแพทย์ เช่น แพทย์เลาะโพรงใส่ซิลิโคนชิดกันเกินไป เลาะไม่ดี ทำให้กล้ามเนื้อด้านในฉีก ส่งผลให้ซิลิโคนไหลเข้าหากัน
  2. เลือกใส่ซิลิโคนที่มีขนาดใหญ่กว่าฐานหน้าอกจริง
  3. สรีระของคนไข้ ที่บางคนมีเนื้อบริเวณกระดูกหน้าอกเยอะมาตั้งแต่กำเนิด

นอกจากสาเหตุที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดนมแฝดได้ เช่น การใส่ซิลิโคนเหนือกล้ามเนื้อ เนื้อเยื้อเสียความยืดหยุ่น การดูแลตัวเองหลังผ่าตัดของคนไข้ การบีบนวดหน้าอกมากเกินไป การดันซิลิโคนเข้าไปตรงกลางอก หรือบางคนร้องขอให้หมอผ่าตัดใส่ซิลิโคนชิดกันมาก ๆ เพราะเข้าใจผิดคิดว่าหน้าอกจะออกมาสวยงาม ซึ่งนั่นเป็นความคิดที่ผิด เป็นการเพิ่มความเสี่ยงแก่ตนเอง ตามหลักการแล้ว ควรกำหนดการวางซิลิโคนให้ห่างจากเส้น Midline (กลางหน้าอก) ประมาน 1 เซนติเมตรขึ้นไปในแต่ละข้าง เพราะฉะนั้น ระยะห่างของหน้าอกจะอยู่ที่ประมาน 3 เซนติเมตร ซึ่งเป็นระยะที่กำลังดี ไม่ก่อให้เกิดภาวะหน้าอกชิดหรือนมแฝด

วิธีลดความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดภาวะนมแฝด

ทำหน้าอก เดอะซิบส์ คลินิก นมแฝด 9 ภาวะนมแฝด (Symmastia)

  1. เลือกแพทย์ที่มีประสบการณ์หรือคลินิกที่มีความน่าเชื่อถือ (สามารถตรวจสอบได้จากสมาคมศัลยแพทย์ตกแต่งแห่งประเทศไทย)
  2. ไม่ฝืนใส่ซิลิโคนที่มีขนาดใหญ่จนเกินไป
  3. ใส่ซิลิโคนใต้กล้ามเนื้อ
  4. ไม่ทำการนวดหน้าอกที่รุนแรง
  5. ตรวจเช็คหน้าอกอย่างสม่ำเสมอ จากศัลยแพทย์ผู้ทำการผ่าตัด

วิธีการแก้ไข

การแก้ไขนมแฝดนั้นแก้ไขยาก มีขั้นตอนที่ซับซ้อน แต่สามารถแก้ไขได้โดย

  1. ผ่าตัดเพื่อนำซิลิโคนเดิมออก (บางรายสามารถเสริมเข้าไปใหม่ได้ทันที แต่ในบางรายต้องพักร่างกายและเสริมใหม่ในภายหลัง)
  2. ทำฉากกั้นผนังตรงกลางใหม่ โดยอาจจะใช้กล้ามเนื้อ หรือเนื้อเยื้อเทียมบางส่วนมากั้นระหว่างเต้านมทั้งสองข้าง
  3. แก้ทรงหน้าอกที่เกิดจากการเลาะโพรงที่ไม่ได้รูป โดยการเลาะโพรงใหม่
  4. ปรับแต่งหัวนมใหม่ แก้ไขดึงหัวนมที่อยู่ต่ำหรือสูงเกินไปให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม
  5. หลังการผ่าตัดต้องใส่ยกทรงพิเศษเพื่อป้องกันการเคลื่อนที่ของซิลิโคน

ทำหน้าอก เดอะซิบส์ คลินิก นมแฝด 10 ภาวะนมแฝด (Symmastia)

ตัวอย่างยกทรงพิเศษป้องกันนมแฝด (ภาพจาก google)

ตัวอย่างการแก้นมแฝด ที่ เดอะซิบส์ คลินิก

ทำหน้าอก เดอะซิบส์ คลินิก นมแฝด 11 ภาวะนมแฝด (Symmastia)

ภาพตัวอย่างแก้ไขยกกระชับหน้าอก ผู้ที่มีภาวะนมแฝดประเภท Congenital

ทำหน้าอก เดอะซิบส์ คลินิก นมแฝด 12 ภาวะนมแฝด (Symmastia)

ภาพตัวอย่างแก้ไขหน้าอก ผู้ที่มีภาวะนมแฝดประเภท Acquired