การเสริมหน้าอกนอกจากจะต้องรู้ว่าควรจะเสริมแบบไหน ขนาดเท่าไหร่ ซิลิโคนผิวชนิดใด ศัลยแพทย์ผ่าตัดเป็นใคร ก็ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน นั้นคือการเลือกบริเวณที่จะเปิดแผล เนื่องจากแผลแต่ละที่มีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกัน ในบทความนี้เราจะมาพูดถึงการเปิดแผลบริเวณราวนมกันคะ
การเปิดบริเวณใต้ราวนม
เป็นการเปิดแผลที่นิยมทำกันมากในต่างประเทศ แผลบริเวณนี้สามารถใช้สำหรับใส่ซิลิโคนที่ระดับเหนือกล้ามเนื้อหรือใต้กล้ามเนื้อ และสามารถใช้ได้ดีในกรณีที่คนไข้ต้องการเอาซิลิโคนออก แผลผ่าตัดจะไม่มีการตัดผ่านท่อน้ำนม ทำให้โอกาสที่เชื้อแบคทีเรียเข้ามาปนเปื้อนน้อย โดยศัลยแพทย์จะเปิดแผลใต้ราวนม แผลบริเวณขอบล่างของราวนม ซึ่งจะเป็นรอบพับของฐานราวนมพอดี หากสามารถลงตำแหน่งที่ดีได้ แผลเป็นจะอยู่ในระดับของรอยพับพอดี ทำให้มองไม่ค่อยเห็นแผลเป็นเวลายืนหรือนั่ง ยกเว้นเวลานอนที่อาจจะเห็นแผลเป็นได้ชัดเจน โดยส่วนใหญ่จะเปิดแผลต่ำกว่ารอยพับใต้ราวนมเดิมเล็กน้อย เพื่อช่วยซ่อนแผลให้ถูกปิดบังโดยหน้าอกอย่างพอดี
ขั้นตอนการเปิดแผลใต้ราวนม
- ศัลยแพทย์เปิดแผลบริเวณขอบล่างของราวนมทั้งสองข้าง
- ขยายโพรงให้ได้ขนาดที่ต้องการ
- หลังได้ขนาดช่องว่างเหมาะสมจึงใส่ซิลิโคนเข้าไปในตำแหน่งที่เหมาะสม
- จัดทรงและตำแหน่งให้เข้าที่
- ปิดแผล
ข้อดีของการเปิดแผลใต้ราวนม
- หากมีเหตุจำเป็นที่ต้องผ่าตัดแก้ไขจากปัญหาอื่นๆ เช่น พังผิด, ซิลิโคนเลื่อนจากตำแหน่งเดิมหรือหน้าอกชิดกัน การเปิดแผลบริเวณใต้
ข้อเสียของการเปิดแผลใต้ราวนม
- ในกรณีของคนที่มีเนือบริเวณหน้าอกน้อยมากจนไม่มีขอบใต้ราวนม จะทำให้เวลาเปิดแผลต้องคาดเดาว่าขอบของหน้าอกที่จะเกิดขึ้นหลังการเสริมหน้าอกจะเป็นบริเวณไหน โดยทั่วไปศัลยแพทย์ที่มีประสบการณ์มักจะวางแผนเลือกทางเข้าแผลได้ดี จึงไม่ค่อยมีปัญหา
- แผลเป็นบริเวณนี้จะเปลี่ยนระดับสูงหรือต่ำขึ้นอยู่กับขนาดของซิลิโคน
- การผ่าตัดเปลี่ยนขนาดซิลิโคนจะทำให้เห็นรอยแผลชัดเจนขึ้น
- ถ้าหากเคยใส่ซิลิโคนที่มีขนาดเล็กแล้วเปลี่ยนเป็นขนาดที่ใหญ่ แผลบริเวณใต้ราวนมก็จะเปิดสูงขึ้นกว่าขอบราวนม ทำให้แผลไม่อยู่ในระดับเดียวกับรอยพับใต้ราวนม
- ถ้าหากต้องการเปลี่ยนขนาดใหญ่เป็นเล็ก แผลบริเวณใต้ราวนมก็จะขยับต่ำลง ทำให้เห็นแผลชัดเจน เพราะไม่มีเนื้อบริเวณหน้าอกบัง
การเปิดแผลใต้ราวนมเหมาะกับใคร
- เหมาะกับผู้ที่อยู่ประเทศตะวันตก เพราะคนผิวขาวแผลเป็นจะดีขึ้นหลังจากผ่านไป 3 ถึง 6 เดือน
- เหมาะกับคนที่มีเนื้อหน้าอกมากพอสมควร เพราะเต้านมจะต้องสามารถปิดแผลเป็น
ทั้งหมดนี้คือข้อมูลเบื้องต้นของการเสริมหน้าอกผ่านทางบริเวณใต้ราวนม เพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจว่าคุณจะเลือกทำแบบไหน ในบทความถัดไปเราจะพูดถึงการเสริมหน้าอกแบบใต้รักแร้ จะเป็นอย่างไร สามารถติดตามได้ที่บทความของเราค่ะ